บทที่ 5 คุณธรรม จริยธรรม ในการประกอบอาชีพ

บทที่ 6 จบ

เรื่องที่ 1 การเลือกวัตถุดิบ

เรื่องที่ 1 การเลือกวัตถุดิบ

การเลือกซื้อเนื้อสัตว์   ควรเลือกซื้อจากร้านที่ผ่านการตรวจจากสัตว์แพทย์โรงฆ่าเชื้อสัตว์ที่ตรวจสอบสัตว์นั้นก่อนก่อนฆ่าว่าไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคที่สามารถแพร่เชื้อมาสู่ผู้บริโภคได้  ไม่ควรเลือกซื้อตามข้างถนนหรือแผงลอยในตลาดที่ไม่ได้มาตรฐานปัจจุบันตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าบางแห่ง  จะแล่ส่วนต่างๆของเนื้อสัตว์จำหน่ายเพื่อให้เกิดความสะดวกในการนำไปประกอบอาหารตามความต้องการของผู้บริโภค

  1. การเลือกเนื้อสัตว์ ประเภทต่างๆ ควรเลือกดังนี้

เนื้อวัว              มีสีแดง  มันสีเหลือง  เส้นเนื้อเล็กละเอียด  นุ่มกว่าเนื้อควาย

เนื้อควาย          มีสีแดง  มันสีขาว  เส้นเนื้อหยาบ   ราคาถูกกว่าเนื้อวัว

เนื้อหมู             มีสีชมพู  มันสีขาว ถ้าเป็นสามชั้น  มันระหว่างหนังกับเนื้อ

จะต้องไม่หนามาก

ไก่                   ควรเลือกไก่อ่อนเนื้อจะนุ่ม  หนังไม่เหนียว

                        ไม่มีรอยเขียวช้ำตามคอหรือท้องและบริเวณอื่นๆ

เป็ด                 ถ้าเป็ดแก่จะมีกลิ่นสาบ  เนื้อเหนียว  สดไม่มีรอยช้ำ

กุ้ง                   หัวติดกับลำตัว  ไม่หลุดออกจากกัน  เปลือกสีเขียวแกมน้ำเงิน  หางไม่แดงหรือมีรอยคล้ำ  ไม่มีกลิ่นเหม็น

ปลา                 ตาใสเหงือกแดง  เนื้อไม่เละ  บริเวณท้องไม่ผุ

หอย                เลือกที่ยังไม่ตาย  เปลือกหอยอ้าหุบเองได้

  1. การเลือกผัก ควรเลือกที่ใหม่  สด  สะอาด  มีคุณค่าทางโภชนาการสูงการเลือกซื้อผักแต่ละประเภท  ควรพิจารนาดังนี้
  • ผักรับประทานใบ ควรเลือกที่สดใหม่  ไม่เหี่ยวช้ำ  ลำต้นอวบน้ำ  ใบอาจมีรอยแมลงกัดแทะบ้างแสดงว่าปลอดภัยจากสารเคมี
  • ผักรับประทานหัว ควรเลือกหัวหนักเนื้อแน่น  น้ำหนักเหมาะสมกับขนาด  ถ้าหัวใหญ่น้ำหนักเบาเนื้อจะไม่แน่น
  • ผักรับประทานผล เอกตามลักษณะเฉพาะของผักนั้น  เช่น  ฟักทอง  ผลหนักเนื้อแน่นสีเหลืองงอมเขียว  ผิวขรุขระ  แตงร้าน  แตงกวา  เลือกผิวสีเขียวริ้วขาว  ผิวตึง  ถ้าผิวเหลืองแสดงว่าเป็นแตงเก่าและเริ่มแก่  เป็นต้น
  1. การเลือกอาหารแห้ง  ถ้าซื้อจำนวนมาก  ราคาจะถูกกว่าการซื้อปลีก   อาหารแห้งที่ต้องระมัดระวัง  คือ  อาหารที่ขึ้นราโดยเฉพาะราสีดำ  พบในหอม  กระเทียม  ถั่วเมล็ดแห้ง  เพราะราชนิดนี้ทนต่อความร้อนที่ใช้ในการหุงต้ม  ถ้าเรารับประทานสู่ร่างกาย  อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้
  1. การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง    ในการเอกซื้ออาการกระป๋อง  ควรสังเกตดังนี้
  • ฉลาก ต้องมีรายละเอียด  ชื่อ   เลขทะเบียนอาหาร  สถานที่ตั้งของผู้ผลิต  วัน  เดือน  ปี ที่ผลิต  รหัสได้จดทะเบียนไว้แล้วต่อกระทรวงสาธารณสุข  น้ำหนักสุทธิหรือปริมาณสุทธิ  ชนิดและปริมารของของวัตถุที่เจือปนในอาหารที่ไม่ใช่เป็นส่วนประกอบอันใดจากธรรมชาติ
  • ลักษณะตัวกระป๋อง ต้องเรียบทั้งฝาและก้น  ไม่มีรอยบุบหรือโป่งพอง  เนื่องจากอากาศที่อยู่ภายใน ไม่มีรอยรั่วหรือเป็นสนิม  โดยเฉพาะที่รอยตะเข็บ
  1. การเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปและอาหารพร้อมปรุง

               อาหารสำเร็จรูป หมายถึง  อาหารที่ผู้ขายปรุงไว้เรียบร้อยแล้ว  ผู้ซื้อสามารถนำไปอุ่นหรือรับประทานได้ทันที  อาหารสำเร็จรูปนี้รวมถึงอาหารที่ผู้บริโภคสั่งให้ประกอบหรือปรุงใหม่   การเลือกซื้อควรสังเกตสถานที่ขายสะอาด  ภาชนะใส่อาหารมีสิ่งปกปิด  กันแมลง  และฝุ่นละออง  ผู้ขายแต่งกายสะอาดถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร

               อาหารพร้อมปรุง   หมายถึง  อาหารที่ผู้ขายจัดเตรียมวัตถุดิบ   พร้อมเครื่องปรุงไว้เป็นชุดผู้บริโภคสามารถซื้อแล้วนำไปประกอบเองที่บ้าน ควรสังเกตวัน  เดือน ปี  ที่ผลิตหรือวันหมดอายุเพราะลักษณะของอาหารยังไม่ได้ผ่านความร้อน  มีโอกาสบูดเสียหรือเสื่อมคุณภาพได้มากที่สุด