บทที่ 5 คุณธรรม จริยธรรม ในการประกอบอาชีพ

บทที่ 6 จบ

เรื่องที่ 1 ความสำคัญของจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

เรื่องที่ 1 ความสำคัญของจริยธรรมในการประกอบอาชีพ                 

            จริยธรรมเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาคือความประพฤติ และธรรม คือเครื่องรักษาความประพฤติ การประกอบอาชีพใด ๆ ก็ตามผู้ประกอบอาชีพจะต้องคำนึกถึงผลกระทบต่อสังคมภายนอกเสมอ ทั้งนี้ก็คือจะต้องไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ผิด หากประกอบอาชีพโดยไร้จริยธรรมผลเสียหายจะตกอยู่กับสังคมและประเทศชาติฉะนั้นจริยธรรมจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ความสำคัญของจริยธรรมในการประกอบอาชีพ มีดังนี้

  1. ช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพแต่ละสาขาได้ใช้วิชาชีพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
  2. ช่วยควบคุมและส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความสำนึกในหน้าที่และมีความรับผิดชอบในงานของตน
  3. ช่วยส่งเสริมและควบคุมการผลิต และการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องของความปลอดภัยและการบริการที่ดี
  4. ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค และไม่เห็นแก่ตัว ทั้งนี้ต้องยึดหลักโดยคำนึกถึงผลกระทบที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคเสมอ
  5. ช่วยให้วงการธุรกิจของผู้ประกอบอาชีพมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีความเอื้อเฟื้อต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น อาชีพ (Occupation) ดำรง ฐานดพี (2536 : 2) ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานทุกประเภทและเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม ดังนั้นคำว่าอาชีพจึงครอบคลุมไปถึงงานที่ใคร ๆ ก็ทำได้โดยไม่ต้องอาศัยการฝึกหัดมาก่อน เช่น งานที่ต้องใช้แรงงาน (Manual works) และเป็นงานที่ผู้กระทำจะต้องได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษหรือเป็นงานที่ใช้ทักษะและการฝึกหัดขั้นสูง (Technic worls)”

อาชีพมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมเป็นอย่างมาก ในทัศนะของนักสังคมวิทยานั้น อาชีพอาจก่อให้เกิดผลต่อสังคมได้ ดังนี้

  1. อาชีพสามารถแบ่งแยกกลุ่มคนในสังคมออกเป็นส่วน ๆ ตามสาขาอาชีพ เช่น ผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้ประกอบธุรกิจการเกษตร ผู้ประกอบธุรกิจการบริการ ข้าราชการ เป็นต้น ในกลุ่มอาชีพดังกล่าวสามารถแยกย่อยออกไปได้อีก เช่น ข้าราชการก็มีทั้งข้าราชการครู ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ผู้ประกอบธุรกิจการเกษตรก็มีทั้งชาวนา ชาวสวน ชาวประมง เป็นต้น
  2. อาชีพแต่ละอาชีพนั้นก่อให้เกิดเป็นแหล่งรวมผู้คนจากถิ่นต่าง ๆ เข้าด้วยกันทำให้กลายเป็นกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ และความสนใจไปในแนวเดียวกัน
  3. อาชีพมีผลต่อบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล
  4. อาชีพมีส่วนเชื่อมโยงบุคคลรวมกันเป็นสังคม
  5. อาชีพก่อให้เกิดความสามารถและความชำนาญแก่ผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆ วิธีการสร้างจริยธรรมในการประกอบอาชีพ วิธีการสร้างจริยธรรมต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นหลัก ปัจจุบันนี้โลกเรากำลังมีปัญหาด้านศีลธรรม ปัญหาการขาดคุณธรรม จริยธรรม ในหลาย ๆ อาชีพ ฉะนั้นจะต้องมีการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น และสร้างเสริมเติมต่อสิ่งที่ยังขาดอยู่ให้มีขึ้น

         วิธีการที่นำมาใช้สร้างจริยธรรมสามารถทำได้ ดังนี้

  1. การอบรมตามหลักของศาสนา
  2. การปลูกฝังพฤติกรรมที่พึงประสงค์
  3. การสอนให้รู้จักความเมตตาต่อผู้อื่น
  4. การสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์
  5. การใช้อิทธิพลของกลุ่มให้เกิดความคล้อยตาม
  6. การใช้หลักมนุษยสัมพันธ์
  7. การจัดสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ในทางที่ดี จริยธรรมที่ผู้ประกอบอาชีพควรประพฤติ

            หลักในการยึดถือปฏิบัติของผู้ประกอบอาชีพทั่วไปพึงกระทำเพื่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพของตน และร่วมรับผิดชอบในสังคม ควรมีดังนี้

  1. ความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
  2. การมีจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม
  3. ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยในบริการ
  4. การมีจรรยาอาชีพและดำเนินกิจการอย่างมีคุณภาพ
  5. การสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อลูกค้า
  6. การเคารพสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของผู้อื่น
  7. การใช้จริยธรรมในการติดต่อสื่อสาร
  8. การสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน
  9. การสร้างวินัยในการประกอบอาชีพ
  10. การดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  11. การให้แหล่งข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง
  12. การประกอบอาชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร