บทที่ 1 เรื่องจำนวนและการดำเนินการ

บทที่ 2 เศษส่วน?

สาระสำคัญ การอ่านและเขียนเศษส่วน การเปรียบเทียบเศษส่วน การบวก ลบ คูณ หาร และการแก้โจทย์ปัญหาตามสถานการณ์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. มีความคิดรวมยอดเกี่ยวกับเศษส่วนได้ 2. อ่านและเขียน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเศษส่วนได้ 3. เปรียบเทียบเศษส่วนจำนวนต่าง ๆ ได้

บทที่ 3 ทศนิยม

บทที่ 4 ร้อยละ

บทที่ 6 เรขาคณิต

บทที่ 7 สถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้น

เรื่องที่ 2 การชั่ง และการตวง

2.1 การชั่ง  คือ การวัดน้ำหนัก คน สัตว์ สิ่งของ โดยใช้เครื่องชั่งชนิดต่าง ๆ ตามความเหมาะสมของสิ่งที่จะชั่ง

2.1.1 ชนิดของเครื่องชั่ง เครื่องชั่งแบ่งเป็น 5 ชนิด คือ

1) เครื่องชั่งสปริง หรือชาวบ้านเรียกว่า “ตาชั่งกิโล” มีอยู่ทุกร้านค้าในตลาด

1.1 ตัวเลขรอบหน้าปัดกลม แสดงน้ำหนัก 1กิโลกรัม มีตัวเลขแสดงกิโลกรัมตั้งแต่ 1 ถึง 15 แสดงว่าชั่งได้หนักอย่างสูง 15 กิโลกรัม ขีดเล็กๆ ในแต่ละช่วงหนึ่งกิโลกรัมนั้นมี 10 ขีด แสดงน้ำหนักช่วงละ 100 กรัม

1.2 จานบนเป็นที่รองรับน้ำหนักที่จะชั่ง เมื่อนำของที่จะชั่งวางบนจาน จานจะถูกกดลง เข็มที่หน้าปัดก็จะชี้ไปที่ตัวเลขบ่งน้ำหนัก

2) เครื่องชั่งขนาดใหญ่ เครื่องชั่งแบบนี้มักมีใช้ในร้านค้าส่งหรือตามสถานีรถไฟหรือโรงสีข้าว มีหลายแบบ ที่เรารู้จักกันมักเป็นแบบหน้าปัดตั้ง หรือคานกระดกดังภาพ เครื่องชั่งแบบนี้ใช้ชั่งของที่มีน้ำหนักมากๆ เช่น ข้าวสารเป็นกระสอบ สิ่งของเป็นเข่งใหญ่ๆ

3) เครื่องชั่งน้ำหนักคน  เครื่องชั่งน้ำหนักคนเป็นเครื่องชั่งสปริงชนิดหนึ่ง เครื่องชั่งแบบนี้มีหน้าปัดแสดงน้ำหนักอยู่ด้านบนของฐานสำหรับให้ขึ้นไปยืนชั่งน้ำหนัก และอ่านน้ำหนักจากหน้าปัด ก่อนชั่งเข็มจะชี้เลข 0 เมื่อชั่งน้ำหนัก ผู้ชั่งต้องถอดรองเท้าขึ้นไปยืนบนเครื่องชั่งและต้องยืนตรง ไม่เกาะสิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วอ่านตัวเลขที่เข็มชี้

4) เครื่องชั่งสองแขน  เครื่องชั่งสองแขนนี้ใช้หลักความสมดุลของแขนสองข้าง โดยมีแกนยึดแน่นตรงกลางสำหรับแบบ ก.นั้นเป็นเครื่องชั่งที่นิยมใช้ในร้านขายยา หรือใช้ชั่งสารเคมี วีธีชั่งให้ใส่ของที่ต้องการชั่งลงในจานข้างใดข้างหนึ่งซึ่งนิยมวางจานทางซ้ายมือ ส่วนอีกข้างหนึ่งจะใส่ตุ้มน้ำหนักลงไปจนกว่าเข็มจะชี้ที่ขีดกึ่งกลางหน้าปัด แล้วจึงอ่านน้ำหนักจากตุ้มน้ำหนักทั้งหมดที่ใส่ ส่วนแบบ ข. เป็นเครื่องชั่งที่นิยมใช้ในร้านขายทอง นาก เงิน หรือของมีค่ามาก ๆ เป็นเครื่องชั่งที่มีความไวมาก เพราะต้องการความละเอียดและถูกต้องแม่นยำ จึงต้องตั้งไว้ในตู้กระจกเพื่อกันลมพัด

5) เครื่องชั่งคานเดี่ยว  เครื่องชั่งแบบนี้อาศัยความสมดุลของคานที่ยื่นออกไปข้างเดียว วิธีชั่งจะใส่สิ่งที่ต้องการชั่งลงบนจานของเครื่องชั่งทางซ้ายมือ แล้วเลื่อนแป้นที่คล้องอยู่บนคานไปทางขวาจนแขนของเครื่องชั่งอยู่ในลักษณะสมดุล คือ นิ่งอยู่ในแนวนอนไม่เอียง ถ้าเลื่อนแป้นจนสุดคานแล้วเครื่องชั่งยังไม่สมดุล ให้ใส่ตุ้มน้ำหนักซึ่งมีให้เลือกหลายขนาดคล้องลงบนตุ้มที่ห้อยอยู่ทางขวามือ เครื่องชั่งชนิดนี้เป็นเครื่องชั่งขนาดกลาง สามารถชั่งของได้ถึงประมาณ 100 กิโลกรัม

2.2 การตวง คือ การวัดปริมาณหรือความจุของสิ่งของต่างๆ โดยใช้เครื่องตวงชนิดต่างๆ ซึ่งผู้ใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะตวง

2.2.1  ชนิดของเครื่องตวง เครื่องตวง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1) เครื่องตวงที่ไม่เป็นมาตรฐาน เป็นเครื่องตวงที่แต่ละคนกำหนดขึ้นใช้เองตามความต้องการที่จะใช้งาน เช่น ถังน้ำ ขัน แก้วน้ำ ช้อน การใช้เครื่องตวงที่เป็นมาตรฐาน อาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจไม่ตรงกัน จึงไม่นิยมนำมาใช้ตวงสิ่งของต่าง ๆ

2) เครื่องตวงมาตรฐาน เป็นเครื่องตวงซึ่งทางราชการยอมรับว่าหน่วยที่ใช้ในการตวงนั้นมีความจุเท่ากันทุกเครื่อง เช่น ถัง ลิตร ถ้วยตวง ช้อนตวง

2.2.2  วิธีการตวง มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งที่จะตวง ดังนี้

1) วิธีการตวงของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน ให้ใส่ของเหลวเต็มเครื่องตวงพอดี ไม่ล้นหรือ ไม่ขาด

2) วิธีการตวงของละเอียด เช่น แป้ง น้ำตาลทราย ข้าวสาร เกลือ ตวงให้เสมอปากเครื่องตวง

3) วิธีการตวงของหยาบ เช่น ถ่าน แห้ว กระจับ ให้ใส่ของที่จะตวงจนพูนขอบเครื่องตวง เนื่องจากของหยาบจะก่ายกันในเครื่องตวงทำให้มีช่องว่างภายในจึงต้องตวงให้พูนชดเชยช่องว่าง

2.2.3 หน่วยการตวง  หน่วยการตวงจะต้องใช้ตามหน่วยของมาตรฐานการตวง ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ

1) หน่วยตวงมาตรฐานสากล หน่วยตวงที่นิยมใช้ในการตวงสิ่งต่างๆ มีหลายระบบ เช่น ระบบอังกฤษเป็นออนซ์ แกลลอน ระบบไทยเป็นเกวียน ถัง ลิตร ระบบเมตริกเป็นลิตร มิลลิลิตรหรือลูกบาศก์เซนติเมตร แต่ระบบที่นิยมใช้กันทั่วโลก และทางราชการถือเป็นระบบตวงมาตรฐาน คือ ระบบเมตริก ซึ่งใช้ “ลิตร”

2) หน่วยตวงมาตรฐานที่นิยมใช้กันทั่วไป ในชีวิตประจำวันของคนไทย ได้แก่ มิลลิลิตร ลิตร ถัง เกวียน ถ้วยตวง ช้อนโต๊ะ และช้อนชา โดยมีการเปรียบเทียบหน่วยต่างๆ ไว้ดังนี้

1,000  มิลลิลิตร (มล.)    =          1  ลิตร (ล.)

20  ลิตร                        =          1  ถัง

100  ถัง                         =          1  เกวียน

1  ถ้วยตวง                    =          8  ออนซ์ หรือ 16 ช้อนโต๊ะ

1  ช้อนโต๊ะ                    =          3  ช้อนชา