0(0)

วิชาภาษาไทย (พท21001) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 1 ปี 2567

หลักสูตรรายวิชา

สาระสำคัญ

  1. การอ่านเป็นทักษะทางภาษาที่สําคัญเพราะช่วยให้สามารถรับรู้ข่าวสารและเหตุการณ์

ต่าง ๆ ของสังคม ทําให้ปรับตัวได้กับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่าง ๆ สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์

และนําความรู้ไปใช้ในชีวิตประจําวันได้

2. การเขียนเป็นการสื่อสารที่จัดระบบความคิด การเลือกประเด็น การเลือกสรรถ้อยคําเพื่อ

ถ่ายทอดเป็นตัวอักษรในการสื่อความรู็ ความคิด ประสบการณ์ อารมณ์ ความรู้สึก จากผู้เขียนไปยังผู้อ่าน

  1.  การฟัง การดู และการพูด เป็นทักษะที่สําคัญของการสื่อสารในการดําเนินชีวิตประจําวัน

จึงจําเป็นต้องเข้าใจหลักการเบื้องต้น และต้องคํานึงถึงมารยาทในการฟัง การดูและการพูดด้วย

  1. การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักภาษา ทําให้เกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของ

คนไทยจึงต้องตระหนักถึงความสําคัญของภาษาและต้องอนุรักษ์ภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ สืบต่อไป

  1. การใช้ทักษะทางภาษาไทยในการแสวงหาความรู้ การเข้าใจระดับของภาษาสามารถ

ใช้คําพูดและเขียนได้ดี ทําให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม

 

สารบัญรายวิชา

30 บทเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน (พท21001) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 1 ปี 2567

แบบทดสอบก่อนเรียน (พท21001) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 1 ปี 2567

บทที่ 1 การฟัง การดู?

สาระสําคัญ การฟัง การดู เป็นทักษะสําคัญประการหนึ่งของการสื่อสารที่เราใช้มากที่สุดทั้งเรื่องของ การศึกษาเล่าเรียน การประกอบอาชีพ และการดําเนินชีวิตประจําวัน จึงจําเป็นจะต้องเข้าใจหลักการ เบื้องต้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้ในขั้นสูงขึ้นไป นอกจากนี้ต้องพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้มี ประสิทธิภาพโดยคํานึงถึงมารยาทในการฟังและการดูด้วย ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ผู้เรียนสามารถ 1. สรุปความจับประเด็นสําคัญของเรื่องที่ฟังและดู 2. วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ จากการฟัง และดูสื่อโฆษณา และข่าวสารประจําวัน อย่างมีเหตุผล 3. วิเคราะห์การใช้น้ําเสียงกิริยา ท่าทางถ้อยคําของผู้พูด อย่างมีเหตุผล 4. ปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการฟังและดู ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 หลักเบื้องต้นของการฟังและการดู เรื่องที่ 2 หลักการฟังเพื่อจับใจความสําคัญ เรื่องที่ 3 หลักการฟังการดูและการพูดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องที่ 4 การมีมารยาทในการฟังและการดู

บทที่ 2 การพูด?

สาระสําคัญ การพูดเป็นทักษะส่งสารเพื่อรับรู้เรื่องราวต่างๆ และถ่ายทอดความรู้และความคิดของเราให้ ผู้อื่นรับรู้ การส่งสารจะประสบความสําเร็จจําเป็นต้องจับประเด็นสําคัญเรื่องที่จะพูดให้เหมาะสมกับ ลักษณะโอกาส รวมทั้งการมีมารยาทในการพูดจะทําให้สามารถสื่อสารด้วยการพูดมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ผู้เรียนสามารถ 1. พูดนําเสนอเพื่อความรู้ความคิดเห็น สร้างความเข้าใจ โน้มน้าวใจ ปฏิเสธ เจรจาต่อรอง ด้วยภาษากิริยาท่าทางที่สุภาพ 2. ปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการพูด ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 สรุปความจับประเด็นสําคัญของเรื่องที่พูดได้ เรื่องที่ 2 การพูดในโอกาสต่างๆ เรื่องที่3 มารยาทในการพูด

บทที่ 3 การอ่าน?

สาระสําคัญ การอ่านเป็นทักษะทางภาษาที่สําคัญ และจําเป็นอย่างยิ่งในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วเช่นปัจจุบัน เพราะช่วยให้สามารถรับรู้ข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ ของสังคม ช่วยให้ปรับตัว ให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการทุกสาขา เป็นเครื่องมือสําคัญในการแสวงหาความรู้ที่ แปลกใหม่ การอ่านยังช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน การอ่านจะประสบผลสําเร็จต้องสามารถจับ ใจความสําคัญ วิเคราะห์วิจารณ์และมีมารยาทในการอ่าน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ผู้เรียนสามารถ 1. อ่านในใจได้คล่องและเร็ว 2. อ่านออกเสียงและอ่านทํานองเสนาะได้อย่างถูกต้องตามลักษณะคําประพันธ์ 3. วิเคราะห์แยกแยะข้อเท็จจริงข้อคิดเห็น และจุดมุ่งหมายของเรื่องที่อ่าน 4. เลือกอ่านหนังสือและสื่อสารสนเทศเพื่อพัฒนาตนเอง 5. ปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการอ่าน และมีนิสัยรักการอ่าน ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 การอ่านในใจ เรื่องที่ 2 การอ่านออกเสียง เรื่องที่ 3 การอ่านจับใจความสําคัญ เรื่องที่ 4 มารยาทในการอ่าน และนิสัยรักการอ่าน

บทที่ 4 การเขียน?

สาระสําคัญ การเขียน เป็นทักษะสําคัญหนึ่งในทักษะทั้งสี่ของรายวิชาภาษาไทย คือการฟัง อ่าน เขียน แล ะ พู ดก า รเขี ย นหนั ง สื อใ ห้ ไ ด้ ดี จะ เป็ นพื ้น ฐา นใ นก า รเรี ย นรู ้แล ะ ก า รนํ า เส นอผ ล ก า รเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ได้ดีทําให้ความรู้ขยายไปอย่างกว้างขวาง ผู้เรียนจึงควรได้รู้จักและฝึกฝนการ เขียนประเภทต่างๆ ผลการเรียนที่คาดหวัง ผู้เรียนสามารถ 1. เลือกใช้ภาษาในการนําเสนอตามรูปแบบของงานเขียนประเภทร้อยแก้ว และร้อยกรองได้อย่างสร้างสรรค์ 2. ใช้แผนภาพความคิด จัดลําดับความคิดก่อนการเขียน 3. แต่งบทร้อยกรอง ประเภทกลอนสี่ กลอนสุภาพ 4. เขียนบทร้อยแก้ว ประเภทประวัติตนเอง อธิบายความ ย่อความ ข่าว 5. เขียนรายงานการค้นคว้า สามารถอ่างอิงแหล่งความรู้ได้ถูกต้อง 6. กรอกแบบรายการต่างๆ 7. ปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการเขียน และการจดบันทึกอย่างสม่ําเสมอ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่1 หลักการเขียน การใช้ภาษาในการเขียน เรื่องที่2 หลักการเขียนแผนภาพความคิด เรื่องที่3 การเขียนเรียงความและย่อความ เรื่องที่4 การเขียนเพื่อการสื่อสาร เรื่องที่5 การสร้างนิสัยรักการเขียนและการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 5 หลักการใช้ภาษา?

สาระสําคัญ การใช้ทักษะทางภาษาในการแสวงหาความรู้ การระดมความคิด การประชุม การวิเคราะห์ การประเมิน การเข้าใจระดับของภาษา สามารถใช้พูดและเขียนได้ดีทําให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อส่วนตน และส่วนรวม ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายความแตกต่างของคํา พยางค์วลีประโยคได้ถูกต้อง 2. ใช้เครื่องหมายวรรคตอน อักษรย่อคําราชาศัพท์ได้ถูกต้อง 3. อธิบายความแตกต่างระหว่างภาษาพูด และภาษาเขียนได้ 4. อธิบายความแตกต่าง ความหมายของสํานวน สุภาษิต คําพังเพย และนําไปใช้ใน ชีวิตประจําวันได้ถูกต้อง ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่1 การใช้คําลาและการสร้างคําในภาษาไทย เรื่องที่2 การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และอักษรย่อ เรื่องที่3 ชนิดและหน้าที่ของประโยค เรื่องที่4 หลักในการสะกดคํา เรื่องที่5 คําราชาศัพท์ เรื่องที่6 การใช้สํานวน สุภาษิต คําพังเพย เรื่องที่7 หลักการแต่งคําประพันธ์ประเภทต่างๆ เรื่องที่8 การใช้ภาษาที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

บทที่ 6 วรรณคดี และวรรณกรรม?

สาระสําคัญ การเรียนภาษาไทย ต้องเรียนรู้ในฐานะเป็นวัฒนธรรมทางภาษาให้เกิดความชื่นชม ซาบซึ้งและภูมิใจในภาษาไทย โดยเฉพาะคุณค่าของวรรณคดีและภูมิปัญญาทางภาษาของบรรพบุรุษที่ได้สร้างสรร์ไว้อันเป็นส่วนเสริมความงดงามในชีวิต นอกจากนั้น วรรณคดีและวรรณกรรมตลอดจนบทร้องเล่นของเด็ก เพลงกล่อมเด็ก ปริศนาคําทาย เพลงพื้นบ้าน วรรณกรรมพื้นบ้านเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมซึ่งมีคุณค่า การเรียนภาษาไทยจึงต้องเรียนวรรณคดี วรรณกรรม ภูมิปัญญาทางภาษาที่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและความภูมิใจในสิ่งที่บรรพบุรุษได้สั่งสมและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายความแตกต่างและคุณค่าของวรรณคดี วรรณกรรมปัจจุบันและวรรณกรรมท้องถิ่น 2. ใช้หลักการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม หลักการพิจารณาวรรณคดีและวรรณกรรมให้ เห็นคุณค่าและนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน 3. ร้องเล่นหรือถ่ายทอดเพลงพื้นบ้านและบทกล่อมเด็กในท้องถิ่น ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่1 หลักการพิจารณาวรรณคดีและหลักการพินิจวรรณกรรม เรื่องที่2 หลักการพินิจวรรณคดีด้านวรรณศิลป์ด้านสังคม เรื่องที่3 เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก

บทที่ 7 ภาษาไทยกับช่องทางการประกอบอาชีพ?

สาระสําคัญ ภาษาไทยเป็นภาษาประจําชาติ เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจําวัน อีกทั้งยังเป็นช่องทาง ที่ สามารถนําความรู้ภาษาไทยไปใช้ในการประกอบอาชีพต่างๆ ได้ โดยใช้ศิลปะทางภาษาเป็นสื่อนํา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เมื่อศึกษาจบบทที่ 7 แล้วคาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถ 1. มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ศักยภาพตนเอง ถึงความถนัดในการใช้ภาษาไทย ด้านต่างๆ ได้ 2. เห็นช่องทางในการนําความรูปภาษาไทยไปใช้ในการประกอบอาชีพ 3. เห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยในการประกอบอาชีพ ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 คุณค่าของภาษาไทย เรื่องที่ 2 ภาษาไทยกับช่องทางการประกอบอาชีพ เรื่องที่ 3 การเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทางด้านภาษาไทยเพื่อการประกอบอาชีพ

แบบทดสอบหลังเรียน วิชาภาษาไทย (พท21001) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 1 ปี 2567

เกี่ยวกับผู้สอน

5.00 (1 การให้คะแนน)

14 รายวิชา

128 ผู้เรียน

เรียน