บทที่ 1 ประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้าน

บทที่ 2 ประเพณีท้องถิ่นสุโขทัย

บทที่ 3 อาหารพื้นบ้านของจังหวัดสุโขทัย

บทที่ 4 ศิลปกรรมท้องถิ่นสุโขทัย

บทที่ 5 ศิลป์: เอกลักษณ์ท้องถิ่นสุโขทัย

บทที่ 6 ดนตรีและการแสดงของถ้องถิ่นสุโขทัย

เรื่องที่ 1 ความหมายของวัฒนธรรมประเพณี

ประเพณี    เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา  เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น   การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่างๆ  กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ  หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ  หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสาน

          ในการดำเนินชีวิต  ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด  วัดวาอารามต่างๆในประเทศไทยสะท้อนให้เห้นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย  และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อให้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล  เป็นต้น

          วัฒนธรรม   หมายถึงความเจริญงอกงามที่มนุษย์ทำให้เกิดขึ้น  หรือที่เรียกว่า มรดกทางสังคม  วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ได้รับหรือสืบทอดจากบรรพบุรุษ พระราชบัญญัติวัฒนะรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 24858 ได้ให้ความหมาย  วัฒนธรรมไว้ว่า  วัฒนธรรม หมายถึง ลักษณะแสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียว ก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรม อันดีของประชาชน

          จากความหมายข้างต้น เมื่อรวมความแล้ว ประเพณีวัฒนธรรม หมายถึง การกระทำหรือความประพฤติในทิศทางเดียวกันของกลุ่มชนอันแสดงถึงความเจริญงอกงามของกลุ่มชนนั้นๆ

          อาจกล่าวได้ว่า กลุ่มชนทั้งกลุ่ม ย่อมมีวิถีชีวิตและพฤติกรรมของกลุ่มแตกต่างกันไป ตามแต่มรดกที่ได้รับตกทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งประเพณีวิถีชีวิตเหล่านั้น แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์และความแตกต่างกันของแต่ละกลุ่มชน ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่กระแสสังคมมีการติดต่อสื่อสารถึงกันและกันอย่างรวดเร็วนี้ กลุ่มชนที่ด้อยพัฒนาหรือมีความเจริญทางวัตถุหล้าหลังมักมองประเทศที่เจริญกว่ามีวิถีชีวิตที่ดีกว่าตน จึงพยายามที่จะรับหรือถ่ายโอนวัฒนธรรมของชาติเจริญกว่าเข้ามาเป้นของตนเอง เกิดการผสมผสานจนไม่รู้ว่าตนจะหันไปทางทิศใด ทั้งนี้เพราะจะเจริญหรือศิวิไลซ์ทัดเทียมกับประเทศเหล่านั้นก็ไม่ใช่ และจะเป็นแบบฉบับดั้งเดิมของตนก็ไม่เชิง ในมี่สุดก็ขาดเอกลักษณ์หรือความเป็นตัวของตัวเองไปอย่างน่าเสียดาย

                ความเป็นมาของประเพณี    ประเพณีมีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยม โดยความเชื่อของคนในสังคมต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์นั้นๆ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุต่างๆ ฉะนั้นเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น มนุษย์จึงต้องอ้อนวอนร้องขอในสิ่งที่ตนคิดว่าจะช่วยได้ พอภัยนั้นผ่านพ้นไปแล้ว มนุษย์ก็แสดงความรู้คุณต่อสิ่งนั้นๆ ด้วยการทำพิธีบูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตน ตามความเชื่อ ความรู้ของตน เพื่อความประพฤตินั้นคนส่วนรวมสังคมยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียม หรือเป็นระเบียบแบบแผน และทำจนเป็นพิมพ์เดียวกัน  สืยต่อๆกันจนกลายเป็นประเพณีของสังคมนั้นๆ