5.00(1)

วิชาการเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 สค32032 (2/2566)

หลักสูตรรายวิชา

คําอธบิายรายวิชา สค32032 การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 3 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จํานวน 3 หน่วยกิต (120 ชั่วโมง) มาตรฐานการเรียนรู้ 5.1 มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมืองการ ปกครองในโลก และนํามาปรับใช้ในการดําเนินชีวิตเพื่อความมั่นคงของชาติ

สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้

  • มาตรฐานที่ 5.1 มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์ การเมืองการปกครองในโลก และน ามาปรับใช้ในการด าเนินชีวิตเพื่อความมั่นคงของ
  • ชาติ

สารบัญรายวิชา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ภัยแล้ง?

ทุกวันนี้ สภาวะของโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็วซึ่งจะสังเกตได้จาก อากาศที่แปรปรวน พายุที่รุนแรงขึ้น ฝนที่ตกหนักมากขึ้นหรือฝนที่จะตกน้อยลงกว่าปกติ อากาศที่ ร้อนมากขึ้น ซึ่งก็รวมถึงการที่มีความแห้งแล้งมากขึ้นและยาวนานต่อเนื่องมากขึ้นด้วย สำหรับสภาวะแห้งแล้งที่ประเทศไทยกำลังได้ประสบอยู่ หากเราได้ทำความรู้จักและ เตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับความแห้งแล้งแล้ว ก็สามารถรอดพ้นจากภัยแห้งแล้งนี้ได้ เมื่อท่านได้อ่านหนังสือเสริมความรู้เล่มนี้แล้วท่านจะได้รับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภัยแล้ง ทั้งหมด ตั้งแต่สาเหตุที่เกิดภัยแล้ง ความเสียหายและผลกระทบจากภัยแล้ง ห้วงเวลาที่จะเกิดภัย แล้งในประเทศไทย การเตรียมตัวรับกับสถานการณ์การเกิดภัยแล้ง รวมถึงวิธีปฏิบัติตนขณะเกิดภัย แล้งและวิธีปฏิบัติหลังเกิดภัยแล้ง
แบบทดสอบ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วาตภัย?

วาตภัย เป็นภัยที่เกิดจากพายุแรงลมซึ่งสร้างความเสียหายและเป็นอันตรายต่อชีวิต สิ่งแวดล้อมและท าให้เกิดอุทกภัยตามมา ซึ่งพื้นที่เสี่ยงภัยนั้นจะอยู่ในรัศมี 50- 100 กิโลเมตรจาก แนวศูนย์กลางการเคลื่อนที่ของพายุ ส าหรับในประเทศไทยมีโอกาสเกิดพายุทั้งทางฝั่งทะเลจีนใต้ และฝั่งทะเลอันดามัน จากในอดีตถึงปัจจุบันพายุที่ก่อความเสียหายอย่างมากมายให้แก่ประเทศ ต่าง ๆ ในโลก ได้แก่ พายุโซนร้อน “แฮเรียต” และพายุไต้ฝุ่น “เกย์” พายุไซโคลน “ซิดร์” พายุไซโคลน “นาร์กีส” พายุเฮอริเคน “ซาเวอร์” และพายุหิมะรุนแรง จากสถานต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้เราตระหนักถึงภัยและผลกระทบที่เกิดขึ้นและพร้อมที่จะเตรียมตัวป้องกันและแก้ปัญหา ก่อนที่ภัยนี้มาเยือน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อุทกภัย?

การเกิดอุทกภัยหรือภัยจากน้ าท่วม เป็นภัยที่เกิดขึ้นได้กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ส าหรับ ประเทศไทยเคยประสบเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่มาหลายครั้ง สาเหตุส าคัญของการเกิดอุทกภัย เกิดได้ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติและมนุษย์เป็นต้นเหตุ โดยแต่ละประเทศหรือแต่ละ ทวีป มีพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยหลายจุดที่ต้องระวัง การเกิดอุทกภัยแต่ละครั้งจะมีขนาดและ ความรุนแรงแตกต่างกัน ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อยแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ขนาด ความรุนแรงและลักษณะพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์เป็นส าคัญ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ดินโคลนถล่ม?

การเกิดดินถล่มหรือโคลนถล่ม มักพบในท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ตามเชิงเขาและเกิดขึ้นในช่วงที่มี ฝนตกหนัก ที่น้ าจากภูเขาไหลบ่าพัดเอาดินเอาโคลนมากองรวมกันไว้มาก ๆ และเมื่อถึงระดับหนึ่ง ซึ่งบริเวณที่รองรับทนน้ าหนักไม่ไหว เกิดการถล่มลงมาของกองดินหรือโคลน ซึ่งถ้าในบริเวณนั้นมี การตั้งบ้านเรือนอยู่ ก็จะเกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน หรือบางครั้งเกิดจากการตัดต้นไม้บน พื้นที่ภูเขาและไหล่เขา เมื่อเกิดฝนตกหนักไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่จะยึดดินไว้ท าให้เกิดดินถล่ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ไฟป่า?

ไฟป่า เป็นพิบัติภัยอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นไม่เฉพาะในประทศไทยแต่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาค ทั่วโลกที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปีเมื่อเกิดไฟป่าขึ้นที่ใดก็จะ ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติของป่า และสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ยิ่งกว่าสาเหตุอื่น ๆ เพราะไฟป่าสามารถลุกลามไหม้ท าลายพื้นที่จ านวนมากได้ในเวลาอันรวดเร็ว ไม่เฉพาะแต่พื้นที่นั้นเท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมด้วย ซึ่งเป็นความจ าเป็นที่ ทุกคนต้องเรียนรู้และเข้าใจถึงความรุนแรงลักษณะของการเกิดไฟป่า สถานการณ์และผลกระทบที่ ตามมา ตลอดจนแนวทางการควบคุมและป้องกันเพื่อร่วมมืออย่างจริงจังในการลดความเสียหาย จากไฟป่าให้น้อยลงหรือป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่าขึ้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 หมอกควัน?

หมอกควัน เป็นปัญหาส าคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง หน้าแล้ง สาเหตุของการเกิดหมอกควัน คือ ไฟป่า การเผาพื้นที่ทางการเกษตร การเผาขยะ ฝุ่น ควันจากคมนาคมในเมืองใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ปัจจัยที่ท าให้เกิดปัญหาหมอก ควัน คือ การเผาทั้งภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน สภาพภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศ ปัญหาหมอกควันส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจและ การคมนาคม ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่เผชิญกับสภาวะปัญหาหมอกควันควรรู้จักวิธีเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือและรู้จักวิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องเมื่อเผชิญกับปัญหาหมอกควัน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 แผ่นดินไหว?

แผ่นดินไหว (Earthquakes) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของ เปลือกโลกชั้นนอกซึ่งเคลื่อนที่ตามกระแสความร้อนของหินละลายหลอมเหลวที่เป็นส่วนประกอบ ชั้นในของโลกเนื่องจากเปลือกโลกประกอบขึ้นด้วยแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่น ดังนั้นเมื่อความร้อน จากภายในโลกดันตัวออกมาจะท าให้แผ่นเปลือกโลกบางแผ่นเกิดการเคลื่อนที่ จึงท าให้เกิด แผ่นดินไหวบนพื้นผิวโลกเฉพาะบางแห่งไม่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ซึ่งลักษณะของการเกิดแผ่นดินไหว จะเกิดเมื่อเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกัน หรือเคลื่อนที่เข้ามาชนกัน จะท าให้เกิดการสั่นสะเทือน ที่มีความรุนแรงมากหรือน้อยแตกต่างกันไป ตามปัจจัยและองค์ประกอบของการเกิดแต่ละครั้ง โดยมีมาตราหรือหน่วยในการวัดขนาดของแผ่นดินไหว ท าให้เราทราบได้ถึงขนาดและความรุนแรง ที่เกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 สึนามิ…ภัยร้ายที่น่ากลัว?

ภัยธรรมชาติอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นครั้งใด จะสร้างความสูญเสียและก่อให้เกิดความ เสียหายอย่างประมาณค่าไม่ได้ให้กับมวลมนุษยชาติ ก็คือภัยจากคลื่นที่เกิดในทะเลหรือที่รู้จักกัน ทั่วไปคือ คลื่นสึนามิ เนื่องจากคลื่นสึนามิ เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการเกิด แผ่นดินไหวในทะเลท าให้เกิดคลื่นยักษ์ขนาดใหญ่ พัดกระหน่ าเข้าชายฝั่งด้วยความเร็วและรุนแรง สามารถคร่าชีวิตผู้คนและสิ่งมีชีวิตจ านวนมาก คลื่นสึนามิ เป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถพยากรณ์ การเกิดล่วงหน้าได้ ด้วยเหตุนี้ภัยจากสึนามิ จึงสามารถท าลายทั้งชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งก่อสร้าง ให้แก่พื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นบริเวณกว้าง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิขึ้นใช้ ทั่วโลก การได้ศึกษาหาความรู้และฝึกทักษะการเผชิญเหตุจากภัยสึนามิอย่างต่อเนื่อง สม่ าเสมอ จะ สามารถลดการสูญเสียจากสึนามิให้น้อยลงได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภัยธรรมชาติ?

การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติแต่ละครั้ง น ามาซึ่งความสูญเสียอย่างมากมายมหาศาล ประมาณค่ามิได้ สูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สิน นอกจากนี้ทางด้านจิตใจนับเป็นความสูญเสียที่ยาก จะท าใจได้ จ าเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ได้รับผลจากภัยพิบัติทางธรรมชาติต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือและ เยียวยา ดังนั้นจ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี บุคคลองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทุกขั้นตอน

เกี่ยวกับผู้สอน

5.00 (3 การให้คะแนน)

10 รายวิชา

104 ผู้เรียน

ความคิดเห็นจากผู้เรียน

5.0

Total 1 Ratings

5
1 คะแนน
4
0 คะแนน
3
0 คะแนน
2
0 คะแนน
1
0 คะแนน

ดีมากครับ

เรียน